วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

Week 15 การเซ็ต Wireless Lan

การเซ็ท Security ขั้นต่ำที่สุดที่ระบบ Wireless LAN ควรจะมี
Wireless LAN Security



หน้า: 1/5

หลังจากที่ผมได้แสดงวิธี setup Wireless Access Point แบบง่ายๆไปแล้ว คราวนี้เรามาลองมาปรับปรุงให้มีความปลอดภัยที่ดีขึ้น



โดยหลักๆแล้ว การทำให้ระบบ Wireless LAN มีความปลอดภัยขึ้นนั้น อย่างน้อยเราควรที่จะเซ็ทให้ครบทั้ง 5 ข้อที่ผมกำลังจะบอกครับ ขอย้ำว่า "อย่างน้อยนะครับ"



1. เปลี่ยน SSID ซะ
SSID คือชื่อของ Network ที่เราตั้งขึ้นมาเอง โดยที่ทุกๆเครื่องในระบบต้องตั้งค่า SSID ค่าเดียวกัน โดยส่วนมากเมื่อเราซื้อ Wireless Access Point มาใหม่ๆ จะมีการตั้งค่า SSID ไว้แล้ว แต่เราควรที่จะเปลี่ยนชื่อ SSID ในทันทีที่ติดตั้ง การตั้งชื่อ SSID นั้นต้องไม่เกิน 32 ตัวอักษร และ ตัวใหญ่ตัวเล็กก็มีค่าต่างกันด้วย เช่น TonyNetwork กับ tonyNetwork ถือว่าเป็นคนละ SSID กันครับ

2. เปลี่ยน default password
default password ที่มากับ Wireless Access Point แต่ละยี่ห้อนั้น ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณใช้ความพยายามซักเล็กน้อย ใน Google.com คุณก็สามารถจะรวบรวม default password ของทุกยี่ห้อได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นผมขอบอกว่า คุณจะต้องเปลี่ยน password ของ Wireless Access Point ของคุณทันทีที่เริ่มติดตั้งระบบ

3. SSID Broadcast : Disabled แปลเป็นไทยว่า "ซ่อน SSID มันซะ"
SSID Broadcast คือการยอมให้เผยแพร่ SSID ให้ทุกๆเครื่องที่อยู่ในระยะส่ง สามารถที่จะเห็น Network ของเราได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ตอนเราทำการติดตั้งระบบในครั้งแรก แต่หลังจากที่เราติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราควรที่จะยกเลิก SSID Broadcast ในทันที เพราะการที่เราเปิดเผย SSID ของเรานั้น อาจทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดี สามารถที่จะแอบเข้ามาในระบบ Network ของเราได้ ดังนั้น.....กรุณาซ่อน SSID ของคุณซะ!

4. WEP : Enabled
WEP (Wired Equivalent Privacy) เป็นรูปแบบการเข้ารหัสแบบพื้นฐาน ซึ่งย่อมไม่มีความปลอดภัยเท่ากับ WPA (Wi-Fi Protected Access) แน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม Wireless Access Point ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เกือบทุกตัวจะมี WEP ยกเว้น Wireless Access Point รุ่นใหม่ๆ ที่จะมี WPA ติดมาด้วยครับ

ถ้าคุณจะใช้ WEP ขั้นแรก คุณต้องเลือก Default Transmit Key ตัวใดตัวหนึ่ง จากนั้นก็เลือกระดับของการเข้ารหัสว่าจะเป็น 64 bits, 128 bits หรือ 256 bits สุดท้ายก็ป้อน WEP key ลงไปครับ

5. MAC address filtering
MAC address ทำหน้าที่เสมือนเลขประจำตัวของอุปกรณ์ network ต่างๆ ซึ่งจะไม่ซ้ำกันเลย ดังนั้นการที่เราสามารถที่จะกำหนดให้แค่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเท่านั้น ที่สามารถเข้าสู่ network ของเราได้ ก็ย่อมจะทำให้ระบบ Wireless LAN ของเราปลอดภัยขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

ที่มาจาก http://www.thelordofwireless.com/

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

Week 14 เรื่อง Microsoft

Microsoft คืออะไร

ไมโครซอฟท์ แนสแด็ก: MSFT เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] โดยมียอดขายประมาณ 4 แสนล้านบาท และพนักงานประมาณ 57,000 คน ใน 90 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองเรดมอนด์ (ห่างจากเมืองซีแอตเทิล ประมาณ 22 กม.) มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ผลิต พัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหลัก โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ขายดีติดอันดับคือระบบปฏิบัติการชื่อไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และซอฟต์แวร์สำหรับสำนักงานชื่อไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ นอกจากนั้นแล้วไมโครซอฟท์ยังได้ขยายสายผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดอื่นๆ เช่น สถานีโทรทัศน์ MSNBC เว็บไซต์ MSN และรวมถึงสารานุกรมไมโครซอฟท์ เอ็นคาร์ตา. ไมโครซอฟท์ยังได้ทำตลาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น ไมโครซอฟท์ เมาส์ ไมโครซอฟท์ คีย์บอร์ด ไมโครซอฟท์ ฮารด์แวร์ ไมโครซอฟท์ LifeCam รวมถึงเครื่องเล่นต่างๆเช่น เครื่องเล่นวีดีโอเกม Xbox MSN TV และ Zune เป็นต้น

ที่มาของ Microsoft

ในปี ค.ศ. 1975 บิลล์ เกตส์ กับ พอล อัลเลน ได้ร่วมกับก่อตั้ง ไมโครซอฟท์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น และได้นำเอาภาษาเบสิกที่พัฒนาขึ้นเองออกวางตลาด และให้ชื่อว่าไมโครซอฟท์เบสิก ภาษาคอมพิวเตอร์นี้ได้กลายมาเป็นรากฐานให้แก่ธุรกิจลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งถูกผนวก (มักจะมาในรูปแบบของรอม) เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้าน และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 และ 80

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976 บิลล์ เกตส์ ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นิยมงานอดิเรก ซึ่งสร้างความโกรธเคืองแก่ผู้นิยมเล่นคอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรกเป็นอย่างมาก โดยเขาได้ประกาศว่า ธุรกิจคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์มีตัวตนอยู่ในตลาดการค้า และยังบอกด้วยว่า ไม่ควรทำสำเนาซอฟต์แวร์แจกจ่ายกันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ซึ่งเขาได้กล่าวหาการกระทำนี้ว่าเทียบเท่ากับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ขณะที่เขาพูดถูกในแง่ของกฎหมาย ข้อเสนอดังกล่าวของเกตส์นับว่าไม่เคยมีมาก่อนในวงการคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับอิทธิพลจากมรดกตกทอดของวงการแฮม เรดิโอ และวงการแฮกเกอร์ อันเป็นชุมชนซึ่งมีการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมและความรู้กันอย่างเสรี อย่างไรก็ดี เกตส์พูดถูกในแง่ของการตลาด และความพยายามของเขาก็ได้รับผลตอบแทนในที่สุด ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันได้กลายเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จทางการค้ามากที่สุดในโลก และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับขายปลีก

ช่วงเวลาสำคัญของไมโครซอฟท์ ได้แก่เมื่อบริษัทไอบีเอ็มได้วางแผนจะรุกตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด ใน ค.ศ. 1985 ไอบีเอ็มได้เข้ามาเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อขอซื้อระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (ไอบีเอ็มได้ทำสัญญาภาษาคอมพิวเตอร์ไปแล้ว) แต่ไมโครซอฟท์ไม่มีระบบปฏิบัติการจะขายให้ จึงแนะนำให้ไอบีเอ็มไปคุยกับดิจิทัลรีเสิร์ชแทน ที่ดิจิทัลรีเสิร์ช ผู้แทนของไอบีเอ็มได้คุยกับโดโรธี ภรรยาของ แกรี คิลดาลล์ แต่เธอปฏิเสธการลงนามในข้อตกลงมาตรฐานซึ่งไม่ปิดผนึก เนื่องจากเห็นว่าเสียเปรียบเกินไป ไอบีเอ็มจึงหันมาคุยกับไมโครซอฟท์อีกครั้ง บิล เกตส์ได้สิทธิ์ในการใช้สำเนาการออกแบบของ CP/M และ QDOS จาก ทิม แพทเทอร์สัน แห่งบริษัท ซีแอตเทิล คอมพิวเตอร์ โปรดักส์ ด้วยการซื้อมาในราคา 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และขายมันให้กับไอบีเอ็มในราคา "ราว 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ" ตามคำกล่าวอ้างของเกตส์ และในที่สุด MS-DOS และ PC-DOS ก็ได้แจ้งเกิดในวงการ ต่อมา ไอบีเอ็มได้ค้นพบว่าระบบปฏิบัติการของเกตส์อาจมีปัญหาละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของ CP/M จึงได้ติดต่อกลับไปที่แกรี คิลดาลล์ และเพื่อแลกกับสัญญาว่าจะไม่ถูกคิลดาลล์ฟ้องกลับ ไอบีเอ็มได้ตกลงว่าจะขาย CP/M ควบคู่ไปกับ PC-DOS เมื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็มออกวางตลาด โดยตั้งราคาขาย CP/M ไว้ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ MS-DOS/PC-DOS มีราคาเพียง 40 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ MS-DOS/PC-DOS ขายดีกว่า CP/M หลายเท่า และกลายเป็นมาตรฐานในที่สุด ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มเอง ไม่ได้สร้างรายได้มากมายเท่าไรนัก (ในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ว่าจะต้องขายให้แก่ไอบีเอ็มเจ้าเดียว) แต่ในทางกลับกัน ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ในการขาย MS-DOS ให้กับผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ และด้วยการโหมรุกทางการตลาดอย่างหนัก เพื่อขาย MS-DOS ให้ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไอบีเอ็ม ไมโครซอฟท์มีวิสัยทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมไมโครคอมพิวเตอร์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แม้จะต้องแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ในวงการอย่างไอบีเอ็มก็ตาม

ในกลางคริสต์ทศวรรษที่ 80 เกตส์รู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้ทราบว่าเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลของคอมแพคดิสก์นั้นมีมาก และได้เป็นสปอนเซอร์สนับสนุนการตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า CD-ROM: The New Papyrus (ซีดีรอม: พาไพรัสสมัยใหม่) ที่โฆษณาแนวความคิดของซีดีรอม

ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 80 ไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็ม ได้ร่วมกันพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีชื่อว่า OS/2 (โอเอสทู) ระบบปฏิบัติการได้ถูกนำออกตลาดร่วมกับการออกแบบฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ของไอบีเอ็ม ที่มีชื่อเรียกว่า PS/2 (พีเอสทู) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของไอบีเอ็ม ในขณะที่โครงการกำลังเดินหน้าอยู่นั้น เกตส์ได้มองเห็นข้อขัดแย้งระหว่างไมโครซอฟท์กับไอบีเอ็มอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่การออกแบบระบบ การสนับสนุนฮาร์ดแวร์ และส่วนประสานงานผู้ใช้ ท้ายที่สุดแล้ว เกตส์เชื่อว่าไอบีเอ็มต้องการกีดกันไมโครซอฟท์ออกจากการมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา OS/2 และเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 เกตส์ได้ประกาศต่อพนักงานของไมโครซอฟท์ว่า ความร่วมมือกับไอบีเอ็มเพื่อพัฒนา OS/2 ได้สิ้นสุดลงแล้ว ต่อแต่นี้ไมโครซอฟท์จะหันมาทุ่มเทให้กับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์วินโดวส์แทน โดยมีแกนกลางเป็น Windows NT. ในปีที่นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาดนั้น OS/2 ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง และวินโดวส์ได้กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนจาก MS-DOS ไปเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไมโครซอฟท์ได้ยึดตลาดของคู่แข่งด้วยโปรแกรมประยุกต์หลายตัว เป็นต้นว่า WordPerfect และ Lotus 1-2-3

ในอีกเกือบ ๆ หนึ่งทศวรรษต่อมา โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) ซึ่งเป็นโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์ ได้มาแทนที่โปรแกรมเน็ตสเคปเนวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) ซึ่งหลายคนอธิบายความสำเร็จดังกล่าวว่า เกิดจากการที่ไมโครซอฟท์ได้รวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด. ส่วนผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกล่าวว่า การรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการนั้น สำคัญน้อยกว่าการที่ไมโครซอฟท์ได้พัฒนาความสามารถของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ จนถึงระดับที่เทียบได้กับเน็ตสเคปเนวิเกเตอร์

ในฐานะสถาปนิกซอฟต์แวร์ผู้วางยุทธวิธีการขายสินค้าของไมโครซอฟท์ บิลล์ เกตส์ได้เพิ่มความหลากหลายของประเภทสินค้าไปอย่างกว้างขวาง และเมื่อสินค้านั้น ๆ ครองตำแหน่งสินค้ายอดนิยมในบรรดาประเภทเดียวกัน เกตส์ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันตำแหน่งนั้นไว้ การตัดสินใจทางยุทธวิธีของเกตส์และของผู้บริหารระดับสูงของไมโครซอฟท์คนอื่น ๆ ทำให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมการแข่งขันทางการตลาดจับตามอง และในบางกรณีถูกวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่นกรณีที่ีไมโครซอฟท์ถูกฟ้องร้องในข้อหาผูกขาดทางการตลาดจากการรวมเอาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ไว้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เป็นต้่น

ในปี ค.ศ. 2000 บิลล์ เกตส์ได้เลื่อนตำแหน่งให้ สตีฟ บาลเมอร์ เพื่อนผู้คบหากันมานาน ให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ แทนเขาอีกด้วย

ประโยชน์ของ Microsoft

1. ค้นหาและใช้คุณลักษณะที่คุณต้องการ
รูปลักษณ์และความรู้สึกใหม่ที่ใช้งานง่ายของระบบ Microsoft ซึ่งช่วยให้สามารถค้นหาและใช้คุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่ต้องการสำหรับการทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เมื่อคุณต้องการใช้ เมนูและแถบเครื่องมือที่เหมาะสมจะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติตามงานที่คุณใช้

2. ค้นหา จัดการ และกำหนดความสำคัญของอีเมล
คุณลักษณะการค้นหาขั้นสูงใน Microsoft ช่วยให้คุณค้นหาข้อมูลที่มีความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว คุณลักษณะการแบ่งประเภทด้วยสีจะช่วยให้คุณสามารถเรียงลำดับและจัดการข้อความอีเมลได้ง่าย เทคโนโลยีป้องกันอีเมลขยะและฟิชชิ่งที่ปรับปรุงใหม่จะช่วยคุณกรองอีเมลที่ไม่พึงประสงค์ออก เรียนรู้เพิ่มเติม

3. จัดการเวลาและงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยแถบสิ่งที่ต้องทำแบบใหม่ที่แสดงมุมมองรวมของงาน ข้อมูลปฏิทิน และข้อความอีเมลที่มีการกำหนดค่าสถานะสำหรับการติดตาม งานที่วางกำหนดการจะปรากฏบนปฏิทินของคุณ และคุณสามารถจัดสรรเวลาสำหรับงานโดยใช้ฟังก์ชันการลากและวางเพื่อจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น

4. จัดการข้อมูลลูกค้าและว่าที่ลูกค้าได้จากที่เดียว Microsoft มีโซลูชันการจัดการลูกค้าและที่ติดต่อที่สมบูรณ์แบบ ขณะนี้คุณสามารถรวมศูนย์ข้อมูลที่ติดต่อ ลูกค้า และว่าที่ลูกค้าไว้ในที่เดียว รวมถึงประวัติการสื่อสาร มูลค่ายอดขายที่วางเป้าหมาย โอกาสในการปิดการขาย และงาน นอกจากนี้ คุณยังสามารถเก็บการสื่อสารทุกชนิดกับลูกค้าแต่ละรายไว้ในที่เดียว รวมถึงข้อความอีเมล การโทรศัพท์ การนัดหมาย บันทึกย่อ และเอกสาร

5. จัดการข้อมูลและโอกาสทางการขายได้ดีขึ้นช่วยให้คุณสามารถจัดการความพยายามและโอกาสในการขายได้ในที่เดียว รวมถึงข้อมูลที่ติดต่อและประวัติการสื่อสาร คุณลักษณะแดชบอร์ดใหม่จะช่วยให้คุณมีมุมมองรวมของข้อมูลลูกค้าและว่าที่ลูกค้า ซึ่งช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจและกำหนดความสำคัญของงาน คุณลักษณะด้านการรายงานที่ปรับปรุงมีรายงานมากกว่า 50 ฉบับ ที่คุณสามารถปรับแต่งได้ง่ายตามความต้องการทางธุรกิจเฉพาะ และความสามารถในการกรองแบบใหม่ช่วยคุณคาดการณ์และปิดการขาย

6.สร้างเอกสารและแคมเปญทางการตลาดระดับมืออาชีพได้ในองค์กร
สร้างและแจกจ่ายเอกสารด้านการตลาดและแคมเปญระดับมืออาชีพสำหรับงานพิมพ์ อีเมล และเว็บ ช่วยให้คุณสามารถกำหนดตราสินค้าสำหรับธุรกิจโดยใช้องค์ประกอบตราสินค้าของคุณเอง รวมถึงโลโก้ สี แบบอักษร และข้อมูลธุรกิจ จากนั้น คุณสามารถใช้องค์ประกอบการออกแบบและเนื้อหาในโครงการทุกประเภทร่วมกัน และแปลงสิ่งพิมพ์ชนิดหนึ่งเป็นชนิดอื่น เครื่องมือใหม่และการทำงานร่วมกับโปรแกรมระบบ Microsoft อื่นๆ ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น จะช่วยให้คุณสามารถแจกจ่ายสิ่งพิมพ์และติดตามกิจกรรมได้ง่าย

7. บันทึกและแจกจ่ายแฟ้มของคุณในรูปแบบ PDF
คุณสามารถบันทึกและแจกจ่ายเอกสารเพื่อการสื่อสารและการตลาดในรูปแบบแฟ้ม Portable Document Format (PDF) เพื่อรักษาการจัดรูปแบบ ช่วยให้สามารถเข้ากันได้กับโรงพิมพ์เชิงพาณิชย์ และสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าและว่าที่ลูกค้าสามารถดูเอกสารทางการตลาดของคุณในลักษณะเดียวกับที่คุณสร้างขึ้น และโปรแกรมอื่นๆ ในระบบ Microsoft จะทำให้ทุกสิ่งกลายเป็นเรื่องง่าย

8.จัดการการทำงานด้านการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณลักษณะใหม่ที่ช่วยให้คุณสามารถสร้าง จัดการ และติดตามแคมเปญการตลาดได้ง่าย มีคำแนะนำทีละขั้นตอนที่จะนำคุณสู่กระบวนการ สร้างรายชื่อผู้รับจดหมายแบบกำหนดเอง และกำหนดค่าส่วนบุคคลของเอกสารการตลาดที่พิมพ์หรืออีเมล ซึ่งสร้างขึ้นใน Microsoft จากนั้นคุณสามารถใช้ เพื่อติดตามและประเมินการตอบสนอง เพื่อให้คุณทราบถึงประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ

9. สร้างเอกสารและงานนำเสนอที่มีรูปลักษณ์แบบมืออาชีพยิ่งขึ้นโดยใช้เวลาน้อยกว่าเดิม มีแม่แบบและเครื่องมือใหม่ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้เนื้อหาซ้ำ ใช้การจัดรูปแบบระดับมืออาชีพ และแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลง Microsoft Off ช่วยให้สามารถสร้างงานนำเสนอแบบไดนามิกได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมถึงไลบรารีแบบครอบคลุมของชุดรูปแบบและเค้าโครงภาพนิ่งที่กำหนดเองได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือกราฟิกใหม่ที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างแผนภูมิที่มีประสิทธิภาพ กราฟิก SmartArt และแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบได้ในทันที

10. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น Microsoft มีเครื่องมือใหม่ๆ สำหรับการกรอง เรียงลำดับ และแสดงผลข้อมูล เพื่อช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้น คอลเลกชันใหม่ของลักษณะที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ตลอดจนแผนภูมิและกราฟิกที่ปรับปรุงใหม่จะช่วยให้คุณสามารถใช้รูปลักษณ์แบบมืออาชีพที่สม่ำเสมอกับทุกสิ่งที่คุณสร้างขึ้น



ที่มาจาก http://www.bloggang.com/viewdiary

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

Week 13 เรื่อง Acdsee

ACDSee Display Configuration



ต่อไปนี้เป็นการปรับACDSeeตามสไตล์ของผม เพื่อให้ใช้งานไห้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และเหมาะแก่การใช้งาน

Run ACDSeeขึ้นมาแล้วให้ไปที่ Tools bar ข้างบน

Tools > Options

Browser :

- ค่าDefault ตอนแรกจะถูกกำหนดให้มาเป็น C:\Documents and Settings\....\My Documents\My Pictures แต่สำหรับคนที่เก็บรูปไว้ที่อื่น เช่น ผมเก็บรูปทั้งหมดไว้ที่Drive D: สร้างเป็น My Picturesไว้อีกที่นึงเลย เนื่องจากเวลาเครื่องมีปัญหาจำเป็นต้องformat drive c: จะได้สะดวก สบายใจไม่ต้องกลัวข้อมูลหาย ดังนั้นเพื่อความสะดวกเราก็จะตั้งให้มันเปิดไปที่เก็บรูปประจำของเราเลย โดยที่Default start folder ให้ติ๊ก * Specific folder แล้วเลือกโฟล์เดอร์ที่ต้องการ

- Browser display scheme เลือกเป็น Dark ก็จะทำให้Backgroundของเรากลายเป็นสีดำ จะได้ช่วยถนอมสายตา เพราะสีขาวแสงจะสว่างจ้าเข้าตาเรามากเกินไป อีกทั้งมันยังจะทำให้เรามองภาพสีเพี้ยนไปได้เล็กน้อยอีกด้วย ดังนั้นเป็นสีดำดีที่สุด

File List > Thumbnail Style :

- Thumbnail frame ให้เหลือ Show outer border อันเดียวพอ จะได้ไม่เสียเสียเนื้อที่แสดงผลโดยเปล่าประโยชน์

- Thumbnail spacing ให้เลื่อนไปด้านน้อยสุด (Less) เลย ช่วงว่างของแต่ล่ะรูปจะน้อยลง รูปจะเข้ามาใกล้กันมากขึ้น ทำให้แสดงรูปได้พร้อมกันมากขึ้นหรือทำให้ปรับขนาดthumbnailได้ใหญ่ขึ้นในพื้นที่จอเท่าเดิม

Preview :

- ให้เอา Preview และ Autoplay audio and video clips ออกให้หมด เพราะ ACDSeeไม่เหมาะที่จะเอาไว้ดูไอ้พวกนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกระตุกหรือค้างได้ น่ารำคาญอย่างยิ่ง

Viewer > Display :

- Background : เลือกเป็น Custom color สีดำ

- Resize : อันนี้ตามชอบ ถ้าอยากให้แสดงภาพไม่ว่าเล็กใหญ่แค่ไหนให้ปรับขนาดให้พอดีจอตลอด ให้เลือก Reduce or Enlarge แต่ของผมตั้งเป็น Reduce Only เพราะถ้าภาพเล็กๆแล้วขยายมากเกินมันดูลำบาก

ต่อไปก็ไปปรับขนาดของThumbnailโดยไปเลื่อนตรงแถบที่มีเครื่องหมาย (+),(-) ตรงบริเวณด้านบนขวา ปรับเอาตามชอบว่าชอบใหญ่เล็กแค่ไหน

ตรงกรอบที่แสดง Preview ก็ปรับเลื่อนที่ขอบเอาตามชอบว่าจะเอาขนาดแค่ไหน

ส่วนอื่นๆใครอยากปรับตรงไหนก็ตามชอบกันล่ะครับ

ที่มาจาก http://guru.google.co.th/

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

Week 12 E-Book


E-Book



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: E-book คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีคำขยายความต่อท้ายว่า หนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ (Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น


E-book เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายของทั้งการสร้าง E-book ความสะดวกในการพกพา ขนาดที่เล็ก และสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอุปกรณ์พกพาที่สามารถอ่าน E-book ได้ สามารถสร้างให้ E-book นอกจากจะมีสีสันสวยงามเพื่อง่ายต่อการอ่าน และทำความเข้าใจแล้ว ยังสามารถใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว สร้างสารบัญ (Link) หรือการคลิกเพื่อส่ง E-Mail ไปยังผู้เขียน หรือ E-Mail ใน E-book ก็ได้


วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


แนวความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นภายหลัง ปี ค.ศ.1940 โดยปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสแกน (Scan) หนังสือจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มภาพตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่าน กระบวนการแปลงภาพเป็นข้อความ (Text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นข้อความที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ การถ่ายทอดข้อมูลจะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษจึงเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูลแทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (Documents printing) ทำให้รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรก ๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ เมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่าง ๆ จึงถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า "web page" ผู้อ่านสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัท ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader และหลังจากนั้นมีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไป กล่าวคือ สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ คุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป


รูปแบบของไฟล์ E-book


E-book เป็นไฟล์ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่คำนิยามของ E-book ไม่ได้แสดงถึงคำจำกัดความที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดว่าสร้างจากโปรแกรมอะไร ต้องมีรูปแบบไฟล์แบบไหน ทำให้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน เพราะมันคือหนังสือที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างได้จากโปรแกรมอะไรก็ได้ที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์


เนื่องจาก E-book จะมีลักษณะเป็นไฟล์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์ จึงไม่แปลกที่จะมี format หรือไฟล์รูปแบบนามสกุลต่างๆ ที่เป็น e-book ได้แก่ ไฟล์นามสกุล PDF, RTF, XML หรือกระทั่งไฟล์ HTML ที่เป็นไฟล์เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต หรือไฟล์คู่มือในแผ่นซีดีรอมไดร์เวอร์ และอีกประเภทหนึ่งที่เห็นกันบ่อยคือ ไฟล์ HTML หรือไฟล์เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตนั่นเอง


แต่ไฟล์ที่นิยมใช้กันมากๆ เป็นไฟล์ประเภท PDF และ HTML เพราะนอกจากจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไฟล์ทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติที่เด่นๆ ที่สามารถทำได้มากกว่าไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น การสร้างสารบัญ การใส่ไฟล์รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ ดังนั้นในบทความนี้จึงจะนำเสนอการสร้าง e-book ในรูปแบบของไฟล์ทั้งสองประเภท (แต่จะพบว่าในการขายหนังสือไฟล์ e-book ในอินเทอร์เน็ตหรือทั่วๆ ไปจะนิยมใช้ PDF มากกว่า เพราะสามารถสร้างได้ง่ายกว่า สามารถใส่ password และป้องกันการก็อปปี๊ได้ดีกว่า)

ที่มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/