วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

Week 12 E-Book


E-Book



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: E-book คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แต่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีคำขยายความต่อท้ายว่า หนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้อยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรมส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษ และมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถอ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก พีดีเอ (Personal Digital Assistant) Palm และ PocketPC หรือกระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือบางรุ่น


E-book เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยความสะดวกสบายของทั้งการสร้าง E-book ความสะดวกในการพกพา ขนาดที่เล็ก และสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอุปกรณ์พกพาที่สามารถอ่าน E-book ได้ สามารถสร้างให้ E-book นอกจากจะมีสีสันสวยงามเพื่อง่ายต่อการอ่าน และทำความเข้าใจแล้ว ยังสามารถใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว สร้างสารบัญ (Link) หรือการคลิกเพื่อส่ง E-Mail ไปยังผู้เขียน หรือ E-Mail ใน E-book ก็ได้


วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์


แนวความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นภายหลัง ปี ค.ศ.1940 โดยปรากฏในนวนิยายวิทยาศาสตร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสแกน (Scan) หนังสือจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มภาพตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และนำแฟ้มภาพตัวหนังสือมาผ่าน กระบวนการแปลงภาพเป็นข้อความ (Text) ด้วยการทำ OCR (Optical Character Recognition) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงภาพตัวหนังสือให้เป็นข้อความที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ การถ่ายทอดข้อมูลจะถ่ายทอดผ่านทางแป้นพิมพ์ และประมวลผลออกมาเป็นตัวหนังสือและข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นหน้ากระดาษจึงเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นแฟ้มข้อมูลแทน ทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร (Documents printing) ทำให้รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยุคแรก ๆ มีลักษณะเป็นเอกสารประเภท .doc, .txt, .rtf, และ .pdf ไฟล์ เมื่อมีการพัฒนาภาษา HTML (Hypertext Markup Language) ข้อมูลต่าง ๆ จึงถูกออกแบบและตกแต่งในรูปของเว็บไซต์ โดยปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ซึ่งเรียกว่า "web page" ผู้อ่านสามารถเปิดดูเอกสารเหล่านั้นได้ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) ซึ่งเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถแสดงผลข้อความ ภาพ และการปฏิสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัท ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้ผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำแนะนำในรูปแบบ HTML Help ขึ้นมา มีรูปแบบของไฟล์เป็น .CHM โดยมีตัวอ่านคือ Microsoft Reader และหลังจากนั้นมีบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ได้พัฒนาโปรแกรมจนกระทั่งสามารถผลิตเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นลักษณะเหมือนกับหนังสือทั่วไป กล่าวคือ สามารถแทรกข้อความ แทรกภาพ จัดหน้าหนังสือได้ตามความต้องการของผู้ผลิต และที่พิเศษกว่านั้นคือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ สามารถสร้างจุดเชื่อมโยงเอกสาร (Hypertext) ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกได้ อีกทั้งยังสามารถแทรกเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในหนังสือได้ คุณสมบัติเหล่านี้ไม่สามารถทำได้ในหนังสือทั่วไป


รูปแบบของไฟล์ E-book


E-book เป็นไฟล์ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่คำนิยามของ E-book ไม่ได้แสดงถึงคำจำกัดความที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดว่าสร้างจากโปรแกรมอะไร ต้องมีรูปแบบไฟล์แบบไหน ทำให้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน เพราะมันคือหนังสือที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างได้จากโปรแกรมอะไรก็ได้ที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์


เนื่องจาก E-book จะมีลักษณะเป็นไฟล์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์ จึงไม่แปลกที่จะมี format หรือไฟล์รูปแบบนามสกุลต่างๆ ที่เป็น e-book ได้แก่ ไฟล์นามสกุล PDF, RTF, XML หรือกระทั่งไฟล์ HTML ที่เป็นไฟล์เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต หรือไฟล์คู่มือในแผ่นซีดีรอมไดร์เวอร์ และอีกประเภทหนึ่งที่เห็นกันบ่อยคือ ไฟล์ HTML หรือไฟล์เว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตนั่นเอง


แต่ไฟล์ที่นิยมใช้กันมากๆ เป็นไฟล์ประเภท PDF และ HTML เพราะนอกจากจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไฟล์ทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติที่เด่นๆ ที่สามารถทำได้มากกว่าไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น การสร้างสารบัญ การใส่ไฟล์รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ ดังนั้นในบทความนี้จึงจะนำเสนอการสร้าง e-book ในรูปแบบของไฟล์ทั้งสองประเภท (แต่จะพบว่าในการขายหนังสือไฟล์ e-book ในอินเทอร์เน็ตหรือทั่วๆ ไปจะนิยมใช้ PDF มากกว่า เพราะสามารถสร้างได้ง่ายกว่า สามารถใส่ password และป้องกันการก็อปปี๊ได้ดีกว่า)

ที่มาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น